ใบย่านาง
มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารมากมาย วิตามินเอ,วิตามิซีโปรตีน, คาร์โบรไฮเดรด,ไขมัน, แคลเซียม,ฟอสฟอรัส ,เหล็ก, ไนอาซีน, ใยอาหาร
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พบว่า น้ำคั้นจากใบย่านาง มีสารคลอโรฟีลล์ (Chlorophyll) ช่วยปรับความสมดุลของร่างกาย มีฤทธิ์เย็น เด็ดใบมาคั้นน้ำเป็นน้ำซุบ ปรุงอาหารได้หลายอย่าง จะใช้น้ำที่คั้น ผสมลงในอาหาร เช่น แกงอ่อมต้มแชบ ,ซุบหน่อไม้
ประโยชน์ ของสารคลอโรฟีลล์ (Chlorophyll) ที่ร่างกายได้รับ
•ทำให้สดชื่น หายเหนื่อยจากการอ่อนเพลีย
• ลดความดันโลหิต ลดปัญหาเส้นเลือดหัวใจตีบ
• ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
•สร้างภูมิคุ้มกัน โรคภูมิแพ้ แพ้อากาศ
• ขับกรดจากข้อต่อต่างๆ ทำให้อาการปวดข้อ ปวดเมื่อยตามตัว
• ขับสารพิษออกจากร่างกาย สารตกค้างของยาปฏิชีวนะ สารเคมีตกค้างในอาหาร ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานดี สุขภาพแข็งแรง สดชื่นขึ้น
• เพิ่มประสิทธิภาพเม็ดเลือดแดงและเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้ระบบเลือดไหลเวียนดีขึ้น
• ป้องกันการเจริญเติมโตของเซลล์มะเร็ง
• ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย, การใช้รักษาแผลอักเสบ, แผลเปื่อย, แผลเรื้อรัง, แผลถลอก, แผลไฟไหม้, เหงือกอักเสบ, แผลในปาก
• บรรเทาอาการปวดศีรษะทั่วไป และปวดศีรษะไมเกรนได้
• ช่วยให้ผู้ที่เป็นต้อกระจกมองเห็นได้ดีขึ้น
• มีสารอาหารบำรุงเส้นผม ทำให้ผมหงอกดำขึ้น ช่วยลดอาการผมร่วง
การทำน้ำย่านาง ล้างใบย่านางให้สะอาด
เด็ด ใช้ใบย่านาง 1-5 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
ผู้ใหญ่ ใช้ใบย่านาง 10-20 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
ใบย่านาง
ใบย่านางสดโขลกให้ละเอียดแล้วเติมน้ำหรือ ขยี้ใบย่านางกับน้ำหรือ ปั่นในเครื่องปั่นไฟฟ้า การปั่นจะทำให้ประสิทธิภาพลดลงบ้าง เนื่องจากความร้อนจะไปทำลายความเย็นของใบย่านาง
ขยี้ใบย่านางกับน้ำแล้วกรองด้วยกระชอน
ดื่มครั้งละ 1/2 - 1 แก้ว วันละ 2-3 เวลาก่อนอาหารหรือตอนท้องว่าง
ทิ้งไว้เกิน 4 ชั่วโมง มักจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่เหมาะที่จะดื่ม
โดยให้สังเกตุกลิ่นเปรี้ยวเป็นหลักห้ามนำมาดื่ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น